โครงการ ๙ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทฯ เป็นการทำงานต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อเชื่อมต่อผืนป่าที่ได้ฟื้นฟูไปแล้วในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์และแพร่ และเพื่อสร้างความต่อเนื่องของการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ โครงการนี้เป็นการต่อยอดจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ใน 2 ด้าน คือ เริ่มมีการวิจัย ติดตามผลและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกล้าไม้ เพื่อให้มีวัดผลการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการฟื้นฟูป่าของมูลนิธิฯ และได้เปิดโอกาสให้ชุมชน เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ การเพาะชำกล้า การติดตามผลการเจริญเติบโตของกล้าไม้ การบำรุงรักษาต้นไม้ เป็นต้น โครงการนี้ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แปลงฟื้นฟูป่าเป็นได้มากกว่าแค่พื้นที่ปลูกต้นไม้ แต่ยังสามารถเป็นห้องเรียน ห้องทดลอง และเป็นโอกาสของการสร้างความรักและผูกพันกับธรรมชาติให้กับทุกคนได้เช่นกัน
หน่วยงานร่วมจัด
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก), สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) และภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พื้นที่โครงการ
1. แปลงปลูก ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำนวน 604 ไร่
2. แปลงปลูก ณ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 234 ไร่
3. แปลงปลูก ณ FPT 9 ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 200 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน ยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 400-1,400 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่มีลำห้วยเล็ก ใหญ่ หลายลำห้วยไหลรวมกัน เป็นไร่ร้างเก่าจากการบุกรุกของชาวบ้าน มีไม้ใหญ่และลูกไม้เดิมที่ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้ค่อนข้างน้อย ดินเสี่ยงต่อการพังทลายค่อนข้างสูง อีกทั้งปกคลุมไปด้วยต้นหญ้าคา และต้นไม้กวาด (ต้นแขม) เป็นต้น
จำนวนพื้นที่
พื้นที่ 3 แปลง รวม 1,038 ไร่
ระยะเวลาดำเนินงาน
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2559
ผู้สนับสนุนโครงการ
1. บริษัท ยูพีเอส พาร์เซล ดิลิเวอร์รี่ เซอร์วิส จำกัด
2. บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
3. บริษัท อัลสตอม ประเทศไทย จำกัด
การวิจัยของโครงการ
การทดลองเพื่อเปรียบเทียบวิธีการปลูกด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างและวิธีการปลูกของกรมอุทยานฯ แปลงปลูก 150 ไร่ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
การวิจัยและฟื้นฟูป่าเป็นการฟื้นฟูป่าที่มีการติดตามผลการเจริญเติบโตของกล้าไม้และทดลองวิธีการปลูก เพื่อเปรียบเทียบวิธีการปลูกสองวิธีคือ วิธีการของกรมอุทยานฯ และวิธีการที่ดัดแปลงมาจากวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง จากพื้นที่ฟื้นฟูป่าทั้งหมด 150 ไร่ ได้คัดเลือกพื้นที่จำนวน 3 ไร่ แบ่งเป็นแปลงทดลองจำนวน 6 แปลงโดยกล้าไม้แต่ละต้นจะติดแท็กตัวเลขประจำตัวพันธุ์ไม้ไว้เป็นสัญลักษณ์ และทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีมาตรฐานของหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งทำการวัดความสูงของลำต้น วัดเส้นผ่าศูนย์กลางคอราก ความกว้างของทรงพุ่ม ประเมินสุขภาพ ประเมินการปกคลุมของวัชพืชโดยรอบซึ่งจะทำการวิจัยติดตามผลทั้งหมด 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-2559
ตารางสรุปวิธีการปลูกเพื่อเปรียบเทียบวิธีการปลูก
วิธีการปลูก |
จำนวนพื้นที่ |
ชนิดพันธุ์ไม้ |
จำนวนรวม (ต้น) |
1) วิธีการของกรมอุทยานฯ ใช้พันธุ์ไม้ 5 ชนิด อัตรา 200 ต้น/ไร่ |
1 ไร่ 2 งาน |
5 ชนิด ดังนี้ |
300 ต้น |
2) วิธีการพรรณไม้โครงสร้าง ใช้พันธุ์ไม้ 9 ชนิด อัตรา 400 ต้น/ไร่ |
1 ไร่ 2 งาน |
9 ชนิด ดังนี้ |
540 ต้น |
3) แปลงควบคุม |
1 ไร่ |
ไม่ปลูกต้นไม้ไม้และไม่ตัดหญ้าในพื้นที่ |
|
จำนวนรวม |
840 ต้น |
สรุปผลการวิจัยวิธีการปลูกด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้างและวิธีของกรมอุทยานฯ ดังนี้
จากการวิจัยพบว่า อัตราการรอดและความสูงของกล้าไม้ที่ปลูกในแปลงของวิธีที่ดัดแปลงมาจากวิธีการพรรณไม้โครงสร้าง (Framework Tree Species) จะสูงกว่าในแปลงที่ปลูกด้วยวิธีการของกรมอุทยานฯ ถึงแม้ว่าสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกันมากของแต่ละแปลงทดลองจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ แต่สามารถสรุปได้ว่า การฟื้นฟูป่าโดยใช้พันธุ์ไม้มากกว่า 5 ชนิด และปลูกในอัตราที่สูงกว่า 200 ต้น/ไร่ จะเพิ่มอัตราการรอดของกล้าไม้ และส่งผลให้กล้าไม้มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น
ตารางเปรียบเทียบผลและอัตราการรอดเฉลี่ยของทั้ง 2 วิธี
ครั้งที่ |
สรุปผลการเก็บข้อมูล |
วิธีพรรณไม้โครงสร้าง |
วิธีการของกรมอุทยานฯ |
1 |
เดือนตุลาคม 2557 |
82% |
64.3% |
2 |
เดือนกุมภาพันธ์ 2558 |
85.6% |
65.3% |
3 |
เดือนพฤษภาคม 2558 |
78% |
59.0% |
4 |
เดือนธันวาคม 2558 |
78.6% |
58.0% |
5 |
เดือนพฤศจิกายน 2559 |
54.3% |
34.7% |
ชนิดที่มีอัตรารอดสูง |
หว้า (Syzygium cumini (L.) Skeels) 66.6% |
สัก (Tectona grandis L.f.) 45% |
|
ชนิดที่เจริญเติบโตได้ดี |
กฤษณา (Aquilaria crassna Pierre ex Lec.) |
ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) |
กราฟแสดงผลอัตราการรอดตายเฉลี่ยของทั้ง 2 วิธี
กราฟแสดงผลความสูงเฉลี่ยของทั้ง 2 วิธี
ความสำเร็จของโครงการ
1. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งชาวบ้าน จิตอาสา และตัวแทนผู้สนับสนุนโครงการ
2. นอกจากรายได้จากการเข้ามาทำงานในแปลงปลูกป่าแล้ว ชาวบ้านยังมีส่วนร่วมในกระบวนการติดตามผลและการวิจัยอีกด้วย
เลขที่ 19 ซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์ : 0839146950, 0839146951, 0632320666
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.