ที่ผ่านมาการฟื้นฟูป่าอาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนเมือง พื้นที่ปลูกป่าก็ห่างไกลเดินทางไปลำบาก ปลูกแล้วตายหรือรอดก็ไม่เคยได้รับรู้หรือกลับไปดู เพื่อตอบโจทย์นี้มูลนิธิฯ จึงได้ริเริ่มโครงการ 4G ขึ้นที่เชียงใหม่ เพื่อทำให้การฟื้นป่าเป็นเรื่องง่ายๆ สนุกๆ ที่ทุกคนในครอบครัวสามารถเข้าร่วมได้ตลอดทั้งปี และยังได้จับมือกับพันธมิตรอย่าง หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (Forru) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการหลวง เพื่อทดลองวิธีการฟื้นฟูป่าแบบพันธุ์ไม้โครงสร้าง (Framework Species Method) และมีการทำวิจัยและติดตามผลอย่างเป็นระบบตลอดโครงการ
พื้นที่โครงการ
1. บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15 ไร่
พื้นที่ชุมชนบ้านแม่สาใหม่ เป็นชุมชนม้งที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย ที่ระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผัก ทำสวนผลไม้ ในระยะหลังเริ่มมีการตัดไม้ทำลายป่า และรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาด้านภัยธรรมชาติ และส่งผลกระทบยังกลุ่มชาวบ้านเอง หลังจากนั้นชาวบ้านจึงให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูป่ามากขึ้น และได้ตั้งชมรมอนุรักษ์ป่าบ้านแม่สาใหม่ขึ้น
หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (Forru) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนาวิธี “พรรณไม้โครงสร้าง” เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าดั้งเดิม และเร่งการฟื้นตัวตามธรรมชาติของป่าให้กลับมาโดยเร็ว จึงได้ร่วมกับชาวบ้านแม่สาใหม่ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ทั้งยังมีแปลงสาธิตและแปลงแสดงถึงประสิทธิภาพของการฟื้นฟูและแสดงถึงการยอมรับของชุมชนในท้องถิ่น
2. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย (ม่อนแจ่ม และม่อนล่อง) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 102 ไร่
ในอดีตที่ผ่านมาพื้นที่ชุมชนบ้านหนองหอยมีการปลูกฝิ่น ทำไร่เลื่อนลอย มีการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า เผาป่า บุกรุกเพื่อต้องการที่ดินทำกิน ส่งผลให้หน้าดินถูกทำลาย แหล่งต้นน้ำลำธารเหือดแห้ง ขาดความอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันการบุกรุกทำลายป่ายังคงมีให้เห็นอยู่เสมอ และผลการทำลายป่าโดยขาดสำนึกรับผิดชอบ ทำให้เกิดสภาวะแห้งแล้ง และการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ที่ชุมชนเคยได้ประโยชน์จากพืชอาหาร สมุนไพร สัตว์ต่างๆ ตลอดจน รวมทั้งไม้ที่ใช้เป็นฟืนและสร้างที่อยู่อาศัย
พื้นที่ม่อนแจ่ม–ม่อนล่อง โดยรอบเป็นพื้นที่การเกษตรที่ต้องอาศัยน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ซึ่งนับวันจะเหือดแห้งน้อยลงไปทุกปี นอกจากนั้นพื้นที่ป่าบริเวณนี้ยังถูกไฟป่าเข้าเป็นประจำทุกปี การฟื้นฟูป่าบริเวณนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนอย่างยิ่ง นอกจากนั้นม่อนแจ่มยังเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เข้าถึงง่าย ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
3. บ้านขุนช่างเคี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ไร่
บ้านขุนช่างเคี่ยน เป็นหมู่บ้านของชาวม้งที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย ที่ระดับความสูง 1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ดำเนินการฟื้นฟูป่าจำนวน 5 ไร่ โดยการริเริ่มของผู้นำหมู่บ้านเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำป้องกันไม่ให้ห้วยน้ำในบริเวณหมู่บ้านแห้งเหือดและเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านหันมาฟื้นฟูป่าในพื้นที่สาธารณะ
4. เรือนเพาะชำและศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หมู่บ้านแม่สาใหม่
เรือนเพาะชำและศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หมู่บ้านแม่สาใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ดูแลโดยชาวบ้านในชุมชน ทำการผลิตกล้าไม้คุณภาพสำหรับใช้ปลูกฟื้นฟูป่า เป็นศูนย์การเรียนรู้และสถานที่วิจัยเกี่ยวกับการเพาะกล้าไม้ และสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้าน
จำนวนพื้นที่
พื้นที่ 3 แปลง รวม 122 ไร่
ระยะเวลาดำเนินงาน
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 – ปัจจุบัน
หน่วยงานร่วมจัด
หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (Forru) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย, อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย และชาวบ้านในพื้นที่
ผู้สนับสนุนโครงการ
1. บริษัท เอส.เอส.แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
2. บริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
3. บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด
4. บริษัท เอลก้า (ประเทศไทย) จำกัด
5. บริษัท กรีนสปอต จํากัด
6. มูลนิธิกรุงเทพประกันภัย
7. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
8. บุคคลทั่วไป
การวิจัยของโครงการ
การวิจัยเพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ทั้ง 11 ชนิด และผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโต ในแปลงปลูกป่าม่อนล่อง ปี 2557
1. การสำรวจพื้นที่แบบ Rapid Survey
หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า (Forru) ได้ทำการสำรวจพื้นที่โดยใช้ระบบ GPS ในการวาดแผนที่ขอบเขตของแปลงและคำนวณพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนั้นยังได้ทำการสำรวจพื้นที่โดยบันทึก 1) ต้นกล้าและต้นไม้ที่มีความสูงมากกว่า 50 เซนติเมตร และ 2) ตอไม้ ในวงกลมตัวอย่างจำนวน 10 วงในแต่ละแปลง
ในแปลงม่อนล่องปี 2557 จากการทำ Rapid Survey พบว่า มีกล้าไม้ที่เกิดเองตามธรรมชาติโดยเฉลี่ยที่ 180 ต้นต่อไร่ ซึ่งหมายความว่าเราจะต้องดำเนินการปลูกเพิ่มอีก 380 ต้นต่อไร่ เพื่อให้อัตราความหนาแน่นของต้นไม้เป็น 500 ต้นต่อไร่ ในแปลงไม่มีร่องรอยของวัวในพื้นที่ แต่มีร่องรอยของไฟป่าในทุกวงกลมตัวอย่าง วัชพืชมีความสูงโดยเฉลี่ยที่ 1 เมตร การกำจัดวัชพืชและการจัดการป้องกันระวังไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับแปลงนี้
กล้าไม้ตามธรรมชาติที่พบในแปลง ได้แก่: Sterculiavillosa, Wendlandiatinctoria, Oroxylumindicum, Schimawallichii, Albiziacochinchinensis, Glochidionsphaerogynum, Phyllanthusemblica, Phoebe lanceolata, Castanopsisdiversifolia, Erythrina sp., Lithocarpuspolystachyus, Styraxbenzoides, Dalbergiacultrata, Eugenia sp., Pterocarpusmacrocarpus, Archidendronclypearia, Helicianilagirica, Spondiasaxillarisand Quercus kerrii.
ตารางแสดงพันธุ์ไม้ที่ใช้ปลูกที่แปลงม่อนล่อง
S.no |
Species |
Thai name |
No. Trees Planted |
||
|
|
|
MON LONG REGULAR |
MON LONG LABELLED |
|
74 |
Cryptocarya amygdalina |
หมากขี้อ้าย |
2 |
150 |
|
367 |
Quercus semiserrata |
ก่อตาหมูหลวง |
10 |
150 |
|
66 |
Spondias axillaris |
มะกัก |
11 |
|
|
188 |
Dalbergia oliveri |
ชิงชัน |
30 |
|
|
243 |
Eugenia fruiticosa |
หว้าขี้กวาง |
40 |
|
|
31 |
Acrocarpus fraxinifolius |
สะเดาช้าง |
|
150 |
|
157 |
Castanopsis tribuloides |
ก่อใบเลื่อม |
60 |
150 |
|
3 |
Garcinia xanthochymus |
มะดะหลวง |
92 |
|
|
317 |
Erythrina stricta |
ทองเหลือง |
105 |
150 |
|
4 |
Bischofia javanica |
เติม |
110 |
150 |
|
83 |
Artocarpus lanceolata |
ขนุนป่า |
161 |
150 |
|
18 |
Hovenia dulcis |
หมอนหิน |
160 |
150 |
|
161 |
Alangium kurzii |
ฝาละมี |
250 |
150 |
|
19 |
Cinnamomum longipetiolatum |
กอกกัน |
335 |
150 |
|
163 |
Machilus bombycina |
? |
550 |
150 |
|
71 |
Prunus cerasoides |
นางพญาเสือโคร่ง |
5,872 |
150 |
|
70 |
Markhamia stipulata |
แคหางค่าง |
22 |
|
TOTAL |
TOTAL TREES |
7,800 |
1,800 |
9,600 |
||
TOTAL SPP. |
16 |
12 |
17 |
2. ทำการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)
ในแปลงม่อนล่องปี 2557 เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ และผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโต การทดลองจะประกอบด้วยบล๊อคทดลอง 3 บล๊อค โดยแต่ละบล๊อคจะประกอบด้วยพันธุ์ไม้ทั้ง 11 ชนิดอย่างละ 25 ต้น โดยที่แต่ละบล๊อคจะอยู่ในพื้นที่ที่มีความชันและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
แผนผังแปลงทดลอง
ตารางแสดงหมายเลขแท็กกล้าไม้แปลงทดลอง
S.no |
Species |
Block 1 |
|
Block 2 |
|
Block 3 |
|
|
|
Chem |
Org |
Chem |
Org |
Chem |
Org |
31 |
Acrocarpus fraxinifolius |
1-25 |
273-297 |
545-569 |
817-841 |
1089-1113 |
1361-1385 |
157 |
Heynea trijuca |
26-50 |
298-322 |
570-594 |
842-866 |
1114-1138 |
1386-1410 |
317 |
Erythrina subumbrans |
51-75 |
323-347 |
595-619 |
867-891 |
1139-1163 |
1411-1435 |
4 |
Bischofia javanica |
76-100 |
348-372 |
620-644 |
896- 916 |
1164-1188 |
1436-1460 |
83 |
Artocarpus lanceolata |
101-125 |
373-397 |
645-669 |
917-941 |
1189-1213 |
1461-1485 |
18 |
Hovenia dulcis |
126-150 |
398-422 |
670-694 |
942-966 |
1214-1238 |
1486-1510 |
161 |
Alangiumkurzii |
151-175 |
423-447 |
695-719 |
967-991 |
1239-1263 |
1511-1535 |
19 |
Rhusrhetsoides |
176-200 |
448-472 |
720-744 |
992-1016 |
1264-1288 |
1536-1560 |
163 |
Machilus bombycina |
201-225 |
473-497 |
745-769 |
1017-1041 |
1289-1313 |
1561-1585 |
71 |
Prunus cerasoides |
226-250 |
498-522 |
770-794 |
1042-1066 |
1314-1338 |
1586-1610 |
146 |
Nyssa javanica |
251-272 |
523-544 |
795-816 |
1067-1088 |
1339-1360 |
1611-1632 |
3) วิธีการปลูกแบบมาตรฐาน ปักหลักไม้ไผ่ให้ห่างกัน 1.8 เมตร (หรือห่างจากต้นกล้าเดิมในพื้นที่) และทำการขุดหลุมให้มีขนาด30 x30 เซนติเมตร หลักการปลูกจะมีการใส่ปุ๋ยในปริมาณ 100 กรัมเป็นวงแหวนห่างจากรอบโคนต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยที่กล้าไม้ในแปลงทดลอง 5 ไร่ ครึ่งหนึ่งจะใส่ปุ๋ยเคมี และอีกครึ่งหนึ่งจะใส่ปุ๋ยคอก เพื่อเปรียบเทียบผล
ผลการทดลอง สรุปว่ามีอัตรารอดเฉลี่ยถึง 70% การทดลองปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีในแปลงทดลอง ช่วยให้เติบโตได้ดีในบางชนิด นอกจากนี้ยังค้นพบพรรณไม้โครงสร้างสำหรับพื้นที่นี้
กราฟแสดงผลอัตราการรอดแปลงม่อนล่องปี 2557
Per Cent Survival of twelve native forest tree species
with two fertilizer treatments (means of 3 replicates)
ความสำเร็จของโครงการ
ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้พาอาสาสมัคร เยาวชน และสื่อมวลชนกว่า 300 คนเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการ 4G อาทิ เก็บเมล็ดพันธุ์ เพาะกล้า ถอนหญ้า ใส่ปุ่ย เก็บข้อมูลการเจิรญเติบโตของต้นไม้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้สัมผัสวัฒนธรรมของชาวม้ง และชมธรรมชาติอันสวยงามของม่อนแจ่มอีกด้วย จากการติดตามผลพบว่า ต้นไม้ที่ปลูกมีอัตรารอดเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 70
เรือนเพาะชำและศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หมู่บ้านแม่สาใหม่ ในหนึ่งปีเรือนเพาะชำสามารถผลิตกล้าไม้พื้นถิ่นได้ถึง 124 ชนิด จำนวนกว่า 26,500 ต้น แจกให้กับหน่วยงานหรือชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงมารับกล้าไปปลูก และยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเยาวชนทั้งในและนอกพื้นที่
เลขที่ 19 ซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์ : 0839146950, 0839146951, 0632320666
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.