อุทยานแห่งชาติทับลานมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอุทยานในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าดงพญาเย็น–เขาใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด อาทิ ช้างป่า กระทิง และเสือ และได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกกับยูเนสโกในปี พ.ศ.2548 อุทยานแห่งชาติทับลานจึงถือเป็นระบบนิเวศที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
โครงการนี้เป็นความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่และมณฑลทหารบกที่ 21 ค่ายสุรนารี ที่จะพลิกฟื้นพื้นที่ชายขอบของอุทยานที่ถูกใช้ทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นเวลานานให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้งโดยอาศัยวิธีการตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ผสมผสานการจัดการน้ำ การบำรุงคุณภาพดิน และการเลือกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นโตเร็ว โดยมีชุมชน และเยาวชนในพื้นที่เป็นกำลังหลักในการดำเนินโครงการ
พื้นที่โครงการ
แปลงปลูกป่า 87 ไร่ และ 136 ไร่ อุทยานแห่งชาติทับลาน ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
จำนวนพื้นที่
พื้นที่ 2 แปลง รวม 223 ไร่
ระยะเวลาดำเนินงาน
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2561
หน่วยงานร่วมจัด
อุทยานแห่งชาติทับลาน, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี), มณฑลทหารบกที่ 21 ค่ายสุรนารี, จังหวัดนครราชสีมา, โรงเรียนและหมู่บ้านในตำบลบ้านราษฎร์
ผู้สนับสนุนโครงการ
บริษัท ยูพีเอส พาร์เซล ดิลิเวอร์รี่ เซอร์วิส จำกัด
ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน
1. การวิจัยและฟื้นฟูป่า เป็นการฟื้นฟูป่าที่การติดตามผลการเจริญเติบโต ทดลองวิธีการปลูกและธาตุอาหารที่เหมาะสมทั้งยังเอาใจใส่เป็นพิเศษกับการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ จำนวน 21 ชนิด รวมทั้งสิ้น 41,020 กล้าสำหรับการปลูก ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้รับความอนุเคราะห์กล้าไม้ทั้งหมดจากเรือนเพาะชำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี), ศูนย์เพาะชำกล้าไม้นครราชสีมา, สถานีเพาะชำกล้าไม้หนองเต็ง–จักรราช, และศูนย์เพาะชำกล้าไม้มหาสารคาม
2. การบริหารจัดการน้ำ ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการออกแบบบ่อเก็บน้ำ และวางทางน้ำในแปลง เพื่อให้มีความชุ่มชื้นหมุนเวียนภายในแปลงตลอดปี
3. กิจกรรมเยาวชน จุดยืนของมูลนิธิฯ คือต้องปลูกป่าในใจคนไปพร้อม ๆ กันด้วย จึงได้มีการจัดกิจกรรมอบรมค่ายเยาวชน และกิจกรรมร่วมติดตามผลในแปลงวิจัย กับ 4 โรงเรียนในพื้นที่ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน และเพื่อสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่จะเติบโตขึ้นมาปกป้องรักษาผืนป่าแห่งนี้ต่อไป
4. ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ได้มีการหมุนเวียนแรงงานจำนวนกว่า 200 คน จาก 10 หมู่บ้านในตำบลบ้านราษฏร์เข้ามาทำงานในแปลงปลูกป่า ทั้งนี้เพื่อกระจายรายได้และความมีส่วนร่วมทั้งผู้นำชุมชนและชาวบ้าน
การวิจัยของโครงการ
มีแปลงทดลองทั้งหมด 21 แปลง เป็นการทดลองวิธีการปลูก, ทดลองธาตุอาหารที่เหมาะสมและการหาพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยสรุปตามตารางต่อไปนี้
หัวข้อการวิจัย |
แปลงทดลองที่ 1 |
แปลงทดลองที่ 2 |
แปลงทดลองที่ 3 |
แปลงทดลองที่ 4 |
*1.ปัจจัยธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโต |
ปุ๋ยเคมี |
ปลูกถั่วลิสง |
ดินปลวกผสม |
ควบคุม (ไม่ใช้ธาตุอาหาร) |
*2.วิธีการฟื้นฟู |
หว่านเมล็ด พันธุ์ไม้ท้องถิ่น |
ปล่อยให้ฟื้นฟูเอง |
||
3. ความหนาแน่น ของกล้าไม้ |
400 ต้น/ไร่ |
200 ต้น/ไร่ |
||
*4. ตอยูคาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ |
ฉีดยาฆ่าตอยูคา |
ไม่ฉีดยาฆ่าตอยูคา |
ควบคุม (ไม่ตัดไม่ปลูก) |
|
5. แปลงสมุนไพร |
*หมายเหตุ หัวข้อการวิจัยที่ 1, 2 และ 4 ทำการทดลอง 2 กลุ่ม
รวมทั้งหมด 21 แปลงทดลอง
พันธุ์ไม้ที่ปลูก จำนวน 21 ชนิด ได้แก่ กัลปพฤกษ์ กระบก ราชพฤกษ์ สารภี ยางนา เสลา ตะเคียนทอง ตะคร้อ สาธร สะเดา พะยูง มะค่าโมง หว้า มะหาด ประดู่ป่า มะเกลือ พะยอม อินทนิล สมอไทย แดง พฤกษ์
สรุปผลการวิจัย อยู่ระหว่างการทดลอง
เลขที่ 19 ซอยกรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์ : 0839146950, 0839146951, 0632320666
E-mail : info@rajapruek.org