The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate

Images Show
The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 1   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 2   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 3   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 4   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 5   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 6   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 7   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 8   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 9   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 10   The “Global Survival through Gratitude” Seminar and Debate Image 11

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าทักษะหนึ่งที่ผู้นำในยุคปัจจุบันควรมี คือ การคิดวิเคราะห์และนำเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนอย่างสร้างสรรค์ มูลนิธิฯ
จึงได้จับมือกับกลุ่มโต้วาทีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครูเล็ก ภัทราวดี มีชูธน จัดโครงการโลกรอดเพราะกตัญญูฯ ขึ้น
เพื่อใช้การโต้สาระวาที เป็นเครื่องมือให้เยาวชนได้คิดวิเคราะห์ ตั้งคำถาม พูดนำเสนอความคิดเห็น และโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยทางมูลนิธิฯ ได้รับเกียรติอันสูงสุดจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศให้กับทีมชนะเลิศในแต่ละปี

กิจกรรมภายในโครงการเน้นการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง อาทิ ครูเล็กภัทราวดี มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ.2557 เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารโรงเรียนภัทราวดี หัวหิน ผศ.ปิยนารถ ฟักทองพรรณ ผู้ก่อตั้งชมรมโต้วาทีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นผู้ที่นำรูปแบบการโต้สาระวาทีแบบสากล (Asian Parliamentary Debate) เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย และการลงมือทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง อาทิ
สร้างบ้านดิน ลงชุมชนเรียนรู้จากชาวบ้าน นอกจากนั้นในปี พ.ศ.2556 มูลนิธิฯ ยังได้จัดโครงการร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยขยายหัวข้อการโต้สาระวาทีให้ครอบคลุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน และเพิ่มกิจกรรมเวทีกรรมาธิการจำลองอีกด้วย

ผลที่เกิดขึ้น คือเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเกิดการพัฒนาทักษะด้านการพูด ด้านความคิด การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ มีความมั่นใจและกล้าแสดงออกต่อหน้าสาธารณชนมากขึ้น

การโต้สาระวาที เป็นรูปแบบการโต้วาทีที่นำมาจากการโต้วาทีภาษาอังกฤษระดับสากลของภูมิภาคเอเชีย โดยมีรูปแบบการโต้วาทีที่เป็นระบบมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้พูดทั้ง 3 คนอย่างชัดเจน ทั้งประเด็นการนำเสนอเนื้อหา การวิเคราะห์และการสรุป ซึ่งเป็นรูปแบบที่ช่วยเสริมทักษะการฟังเพื่อจับประเด็น การคิดวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการพูดอย่างมีวาทศิลป์เพื่อโน้มน้าวจิตใจให้ผู้ฟังคล้อยตามอย่างมีระบบ โดยนำเสนอหลักการอย่างมีเหตุผลพร้อมยกตัวอย่างประกอบเพื่อสนับสนุนประเด็นของฝ่ายตน พร้อมทั้งมีการซักค้านหักล้างข้อมูลหรือประเด็นที่ฝ่ายตรงข้ามนำเสนอ
ด้วยการพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงในการค้านประเด็นนั้นๆ พร้อมทั้งสรุปประเด็นอย่างมีสาระและสร้างสรรค์

สถานที่จัดอบรม

  1. สวนศิลป์บ้านดิน
  2. โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน
  3. อาศรมวงศ์สนิท
  4. หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ
  5. ชุมชนบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ระยะเวลาดำเนินงาน

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-ปัจจุบัน

หน่วยงานร่วมจัด

ภัทราวดีเธียเตอร์, กลุ่มโต้วาทีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ผู้สนับสนุนโครงการ

  1. มูลนิธิกรุงเทพประกันภัย
  2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท กรีนสปอต จำกัด
  4. บริษัท สยามมิชลิน จำกัด
  5. บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ไทย) จำกัด
  6. บริษัท สโคลาสติก เอเชีย
  7. บริษัท ซีพีแรม จำกัด
  8. บริษัท อาหารยอดคุณ จำกัด
  9. บริษัท โตโยต้า จำกัด (มหาชน)
  10. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  11. กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  รวมจำนวน 52 โรงเรียน ครูและนักเรียนกว่า 400 คน

  1. โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์
  2. โรงเรียนเบญจมราชาลัย
  3. โรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก)
  4. โรงเรียนหอวัง
  5. โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม
  6. โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
  7. โรงเรียนบวรมงคล
  8. โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
  9. โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย
  10. โรงเรียนพุทธจักรวิทยา
  11. โรงเรียนวิมุตยาราม
  12. โรงเรียนสมุทรปราการ
  13. โรงเรียนปากเกร็ด
  14. โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
  15. โรงเรียนกัลยาณวัตร
  16. โรงเรียนนครพนมวิทยาคม
  17. โรงเรียนนารีรัตน์
  18. โรงเรียนบุญวัฒนา
  19. โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร
  20. โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า กบินทร์บุรี
  21. โรงเรียนเกล็ดลิ้นวิทยา
  22. โรงเรียนชัยภูมิภัคดีชุมพล
  23. โรงเรียนสีคิ้วสวัสดิ์ผดุงวิทยา
  24. โรงเรียนวังหมีพิทยาคม
  25. โรงเรียนรุ่งอรุณ
  26. โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม
  27. โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
  28. โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
  29. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒
  30. โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก
  31. โรงเรียนราชดำริ
  32. โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
  33. โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
  34. โรงเรียนสารวิทยา
  35. โรงเรียนสิริรัตนาธร
  36. โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
  37. โรงเรียนสามโก้วิทยาคม
  38. โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม
  39. โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
  40. โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
  41. โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
  42. โรงเรียนสังขะ
  43. โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
  44. โรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก
  45. โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม
  46. โรงเรียนเขลางค์นคร
  47. โรงเรียนเทิงวิทยาคม
  48. โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
  49. โรงเรียนสะอาดเผดิมวิทยา
  50. โรงเรียนสตรีพัทลุง
  51. โรงเรียนสตรีระนอง
  52. โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
  • Hits: 8369

Rajapruek Institute Foundation

19 Soi Krungthep Kreetha 8 Intersection 16,
Hua Mark, Bang Kapi,
Bangkok 10240, Thailand

Tel: 0839146950, 0839146951, 0632320666
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Copyright © 2024 มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์